ประเภทและการใช้งานของพลาสติก

สินค้ามาใหม่

เม็ดฝาขวด PE สีรวม เม็ดพลาสติกรีไซเคิลชนิดเป่า เกรด B MIXED HDPE หลอมจากฝาขวด PE
1 รูป
2177 ผู้เข้าชม
เศษบด HDPE ใส (เศษใหม่) เกรดเป่าถุง เป่าขวด CLEAR HDPE เศษใหม่หลอมมาจากขวดน้ำแกลลอน
1 รูป
1718 ผู้เข้าชม
เศษบด HDPE สีขาวนม (เศษใหม่) เกรดเป่าถุง เป่าขวด MILKY HDPE เศษใหม่หลอมมาจากขวดน้ำแกลลอน
1 รูป
2159 ผู้เข้าชม

ประเภทและการใช้งานของพลาสติก

ประเภทและการใช้งานของพลาสติก

หากแบ่งประเภทของพลาสติกตามสมบัติทางความร้อน เราสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1

ตารางแสดงความแตกต่างระหว่างเทอร์โมพลาสติกและเทอร์โมเซต

เทอร์โมพลาสติก

เทอร์โมเซตติง

  1. เป็นโพลิเมอร์แบบเส้นหรือแบบกิ่ง

  1. เป็นโพลิเมอร์แบบเชื่อมโยงหรือแบบร่างแห

  2. จะอ่อนตัวหรือหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อน

  2. จะแข็งตัวเมื่อได้รับความร้อน

  3. ต้องทำให้เย็นก่อนเอาออกจากแม่แบบ
      มิฉะนั้นจะเสียรูปทรงได้

  3. ไม่ต้องรอให้เย็นก่อนเอาออกจากแม่แบบ

  4. ไม่เกิดปฏิกิริยาโพลิเมอร์ไรเซชันในแม่พิมพ์

  4.เกิดปฏิกิริยาโพลิเมอร์ไรเซชันในแม่พิมพ์

  5. นำมารีไซเคิลโดยการหลอมและขึ้นรูปใหม่ได้

  5.ไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้

1

1

        1. เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)

        โพลิเมอร์ประเภทนี้จะมีโครงสร้างโมเลกุลของสายโซ่โพลิเมอร์เป็นแบบเส้นตรงหรือแบบกิ่งสั้น ๆ สามารถละลายได้ดีในตัวทำละลายบางชนิด

เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัวและหลอมเหลวเป็นของเหลวหนืด เนื่องจากโมเลกุลของโพลิเมอร์ที่พันกันอยู่สามารถเคลื่อนที่ผ่านกันไปมาได้ง่ายขึ้นเมื่อ

ได้รับความร้อน และเมื่อเย็นตัวลงจะแข็งตัวซึ่งการหลอมเหลวและเย็นตัวนี้ สามารถเกิดกลับไปกลับมาได้โดยไม่ทำให้สมบัติทางเคมีและทางกายภาพ

หรือโครงสร้างของโพลิเมอร์เปลี่ยนไปมากนัก

        พลาสติกประเภทนี้สามารถขึ้นรูปโดยการฉีดขณะที่พลาสติกถูกทำให้อ่อนตัวและไหลได้ด้วยความร้อนและความดัน เข้าไปในแม่แบบที่มีช่องว่าง

เป็นรูปร่างตามต้องการ ภายหลังจากที่พลาสติกไหลเข้าจนเต็มแม่พิมพ์ จะถูกทำให้เย็นตัวและถอดออกจากแม่พิมพ์ ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีรูปร่างตามต้องการ

สามารถนำไปใช้งานได้ เมื่อใช้เสร็จแล้วสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้โดยการบด และหลอมด้วยความร้อนเพื่อขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อีก

แต่พลาสติกประเภทนี้มีข้อเสียและขีดจำกัดของการใช้งาน คือ ไม่สามารถใช้งานที่อุณหภูมิสูงได้ เพราะอาจเกิดการบิดเบี้ยวหรือเสียรูปทรงไป

ตัวอย่างเช่น ขวดน้ำดื่มซึ่งไม่เหมาะสำหรับใช้บรรจุน้ำเดือดหรือร้อนจัด

1

1

        2. เทอร์โมเซตติง (Thermosetting)

        โพลิเมอร์ประเภทนี้จะมีโครงสร้างเป็นแบบร่างแห ซึ่งจะหลอมเหลวได้ในขั้นตอนการขึ้นรูปครั้งแรกเท่านั้น ซึ่งในขั้นตอนนี้จะมีปฏิกิริยาเคมี

เกิดพันธะเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุล ทำให้โพลิเมอร์มีรูปร่างที่ถาวร ไม่สามารถหลอมเหลวได้อีกเมื่อได้รับความร้อน และหากได้รับความร้อนสูง

เกินไป จะทำให้พันธะระหว่างอะตอมในโมเลกุลแตกออก ได้สารที่ไม่มีสมบัติของความเป็นโพลิเมอร์อีกต่อไป

        การผลิตพลาสติกชนิดเทอร์โมเซตติงจะแตกต่างจากพลาสติกชนิดเทอร์โมพลาสติก คือ ในขั้นตอนแรกต้องทำให้เกิดปฏิกิริยาโพลิเมอไรเซชัน

เพียงบางส่วน มีการเชื่อมโยงโมเลกุลเกิดขึ้นบ้างเล็กน้อยและยังสามารถหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อน จึงสามารถขึ้นรูปภายใต้ความดันและอุณหภูมิ

สูงได้ เมื่อผลิตภัณฑ์มีรูปร่างตามต้องการแล้ว ให้คงอุณหภูมิไว้ประมาณ 200-300 องศาเซลเซียส เพื่อให้ได้โครงสร้างแบบร่างแหที่เสถียรและ

แข็งแรง สามารถนำผลิตภัณฑ์ออกจากแบบโดยไม่ต้องรอให้เย็น เนื่องจากผลิตภัณฑ์จะแข็งตัวอยู่ภายในแม่พิมพ์ ดังนั้นการให้ความร้อนในกระบวน

การผลิตพลาสติกเทอร์โมเซตติงกลับทำให้วัสดุแข็งขึ้น ต่างจากกระบวนการผลิตพลาสติกเทอร์โมพลาสติกที่การให้ความร้อนจะทำให้พลาสติกนิ่ม

และหลอมเหลว พลาสติกเทอร์โมเซตติงเมื่อใช้งานเสร็จไม่สามารถนำมาผ่านการหลอมและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่หรือรีไซเคิล (recycle) ได้อีก

และถ้าให้ความร้อนมากเกินไป จะทำให้พลาสติกเกิดการสลายตัวหรือไหม้ โดยไม่เกิดการหลอมเหลว ตัวอย่างของพลาสติกในกลุ่มนี้ เช่น

เบคเคอไลต์ และเมลามีน เป็นต้น

1

1

ที่มา : National Metal and Materials Technology Center (MTEC)

โพสต์เมื่อ :
2560-04-03

LOCATION

รูปภาพแผนที่
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์